ไขข้อข้องใจโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง

รถยนต์ รถจักรยานยนต์มือหนึ่ง หรือแม้แต่รถบ้าน มือสอง นับว่าเป็นอีกหนึ่งทรัพย์สินที่ต้องมีการจดทะเบียน

เพื่อระบุความเป็นเจ้าของ หากมีการซื้อ - ขาย จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของใหม่ภายในระยะเวลาที่กำหนด

เพื่อไม่ให้เสียค่าปรับและเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าของรถ บทความนี้จึงอยากพาทุกคนมาไขทุกข้อสงสัย

ว่าการโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง การโอนรถมีกี่แบบ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการโอนรถกี่บาท ตามไปหาคำตอบพร้อมกัน

ได้ในบทความนี้

โอนรถยนต์มีกี่แบบ

ก่อนที่จะไปดูว่าการโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง อันดับแรกมาทำความรู้จักกับการโอนรถให้มากขึ้นกันก่อน

เพราะการโอนรถมีให้เลือกด้วยกัน 2 แบบ คือการโอนรถยนต์แบบโอนตรง ที่เจ้าของรถคนเก่าและคนใหม่

จะต้องเดินทางไปทำเรื่องต่อนายทะเบียนด้วยกันที่กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักขนส่ง




ส่วนวิธีการโอนรถอีกหนึ่งรูปแบบ คือการโอนลอย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายประหยัดเวลาได้มากขึ้น

แต่วิธีนี้ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงต่อการถูกกระทำผิดกฎหมาย เช่น ผู้ขายมอบอำนาจแล้ว

แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ทำเรื่องโอนรถให้เสร็จแล้วนำรถไปทำผิดกฎหมาย หากเป็นแบบนี้เจ้าของรถคนเก่าจะต้องเป็นคนรับผิดชอบ

เนื่องจากชื่อคนที่ครอบครองรถยังเป็นของเจ้าของคนเก่าอยู่ ดังนั้น วิธีการโอนรถแบบโอนตรง จึงเป็นวิธีที่ช่วยให้ทั้งสองฝ่าย

รักษาผลประโยชน์ได้ดีและปลอดภัยมากที่สุด

โอนรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง

การโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง ซึ่งการโอนรถมีหลายกรณี ทั้งการโอนรถไปให้ลูก โอนรถให้ญาติ หรือโอนรถเป็นชื่อของผู้ซื้อ

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการโอนรถในกรณีไหนก็ตามจะต้องใช้เอกสาร ดังนี้

    เล่มทะเบียนรถ (ลงลายมือชื่อผู้ประกอบการขนส่งและผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเล่มทะเบียน)
    สำเนาบัตรประชาชน 
●   สัญญาซื้อ - ขาย ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี
●    แบบคำขอโอนและรับโอน
   หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ (กรณีที่ผู้โอนหรือผู้รับโอนไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง)
   สำเนาใบมรณบัตรเจ้าของรถ และคำสั่งศาลหรือพินัยกรรมตัวจริงพร้อมสำเนา (กรณีโอนรับมรดก)

โอนรถยนต์ข้ามจังหวัดต้องดำเนินการอย่างไร

สำหรับการโอนรถยนต์ข้ามจังหวัด สามารถดำเนินการได้ที่สำนักงานขนส่งพื้นที่หรือจังหวัดที่ต้องการนำรถไปใช้งาน

โดยขั้นตอนการดำเนินการโอนรถข้ามจังหวัดจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบแล้วไปติดต่อสำนักงานขนส่งในพื้นที่จังหวัดนั้น

กรอกเอกสารให้ครบถ้วนเรียบร้อย หากต้องการใช้เลขทะเบียนเดิมให้แจ้งเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนนี้ได้เลย หลังจากนั้นรอดำเนินการ

ประมาณ 3 วัน แล้วเจ้าหน้าที่จะนัดให้นำรถเข้ามาที่สำนักงานเพื่อตรวจสภาพรถ

โอนรถยนต์ที่ขนส่งไหนได้บ้าง

สถานที่สำหรับการทำเรื่องโอนรถยนต์สามารถทำได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในจังหวัดนั้น ๆ

หากอยู่ในกรุงเทพมหานครสามารถเลือกดำเนินการได้ที่สำนักงานขนส่ง 5 แห่ง ได้แก่

●    สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 : บางขุนเทียน
●    สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 : ตลิ่งชัน
●    สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 : สุขุมวิท
●    สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4 : หนองจอก
●    สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 : จตุจักร
(ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2566)

โอนรถยนต์ใช้เวลากี่วัน

หากผู้ที่มีความต้องการโอนรถยนต์ควรมีการเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน แล้วจึงเดินทางไปยังกรมการขนส่งทางบก

เพื่อดำเนินเรื่องกับเจ้าหน้าที่ โดยระยะเวลาการดำเนินการทั้งหมดในการโอนรถยนต์จะอยู่ประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง

หรือนานที่สุดคือประมาณ 15 วัน ระยะเวลาที่รวดเร็วหรือช้าจะขึ้นอยู่กับการเตรียมเอกสารของผู้โอนและผู้รับโอน
หากขาดเอกสารส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็จะยิ่งทำให้เวลาการดำเนินการช้าลง

โอนรถยนต์ต้องเสียค่าอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นการโอนรถยนต์ในจังหวัดเดียวกัน หรือการโอนรถยนต์ข้ามจังหวัด ทั้งสองรูปแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเท่ากัน

โดยค่าโอนรถยนต์สามารถแบ่งได้ ดังนี้

●    ค่าคำขอในการโอนรถยนต์ 5 บาท
●    ค่าธรรมเนียมในการโอนรถยนต์ 100 บาท
●    ค่าเปลี่ยนแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ (หากต้องการเปลี่ยน) 200 บาท
●    ค่าเปลี่ยนทะเบียนเล่มรถยนต์ (หากชำรุดเสียหาย) 100 บาท
●    ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท ต่อการประเมินราคารถยนต์ 100,000 บาท

สรุปการโอนรถยนต์

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้างไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด หากผู้โอนและผู้รับโอนได้มีการเตรียมเอกสาร

มาอย่างครบถ้วนก็จะช่วยทำให้การดำเนินการโอนรถยนต์เป็นไปอย่างรวดเร็ว และใช้เวลาแค่เพียง 2 - 3 ชั่วโมง เท่านั้น ดังนั้น ควรมีการเตรียมเอกสาร

ให้พร้อมและเลือกวิธีการโอนรถยนต์ที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการถูกหลอกจากมิจฉาชีพ


อ้างอิง https://www.toyotasure.com/contentdetail/contentdetailsui/ID20231006-394