รวมเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการโอนลอย

อยากออกรถยนต์มือสองสักคัน หลายคนมักให้ความสำคัญกับสภาพโดยรวมของตัวรถ และประวัติการใช้งาน

เพื่อให้มั่นใจว่ารถยนต์คันที่เล็งเอาไว้สามารถตอบโจทย์ได้อย่างที่คาดหวัง แต่ลืมไปหรือเปล่าว่าการโอนรถ

ก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน วันนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับการโอนลอยรถยนต์ โอนอย่างไร

มีความเสี่ยงอะไรบ้าง หาคำตอบได้ในบทความนี้

ทำความรู้จักกับการโอนลอย




โอนลอยรถยนต์ คือ การซื้อขายโดยที่กรรมสิทธิ์ของรถยนต์คันดังกล่าวยังไม่ถูกโอนชื่อเจ้าของใหม่โดยสมบูรณ์

แต่จะต้องมีใบสัญญาการซื้อขายเพื่อยืนยันได้ว่ารถคันนี้ถูกขายออกไปแล้ว โดยในใบโอนลอย หรือแบบคำขอการโอน

จะมีเพียงชื่อผู้โอน เมื่อผู้ซื้อรับรถแล้วจะต้องไปดำเนินการตรวจสภาพ และโอนชื่อเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งทางบก


เลือกวิธีโอนลอยดีอย่างไร

การโอนลอยรถยนต์นั้นมีข้อดีสำหรับผู้ซื้อ และผู้ขายใน 2 ประเด็นดังนี้


ซื้อขายง่าย และรวดเร็ว

การโอนด้วยวิธีดังกล่าว ช่วยให้การซื้อขายรถง่ายมาก ๆ ไม่ต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จากพ่อค้าคนกลางอย่างเต็นท์รถยนต์

เพียงแค่ออกใบสัญญาซื้อขายก็ดำเนินการได้เลย


เจ้าของรถไม่เสียเวลาเดินเรื่อง

ในมุมเจ้าของคนขายรถยนต์ หรือเจ้าของเดิม คือไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปทำเรื่องที่สำนักงานขนส่งทางบกด้วยตัวเอง

เพียงแค่มีหนังสือมอบอำนาจให้เข้าของใหม่ไปโอนกรรมสิทธิ์เองก็ถือว่าจบกระบวนการซื้อขาย




เอกสารที่ใช้ในการโอนลอย

การโอนลอยรถยนต์จำเป็นต้องมีเอกสารในการเดินเรื่องดังนี้


  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ หรือเล่มทะเบียนรถยนต์
  • หนังสือสัญญาซื้อขาย
  • แบบคำขอโอน และรับโอนจากกรมการขนส่งทางบก ที่มีลายเซ็นเจ้าของรถคนเดิม
  • หนังสือมอบอำนาจสำหรับเดินเรื่องโอนลอย พร้อมลายเซ็นเจ้าของรถคนเดิม
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ซื้อ พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขาย พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง (กรณีที่ผู้ขายเป็นเจ้าของรถคันดังกล่าว)
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขาย (กรณีที่ผู้ขายเป็นเจ้าของรถคันดังกล่าว)

เลือกวิธีโอนลอยต้องระวังอะไรบ้าง

สิ่งที่ควรระวังในการโอนลอยจะเป็นส่วนของเอกสาร ซึ่งจะต้องมีความรอบคอบทั้งฝั่งผู้ซื้อ และผู้ขายโดยมีประเด็นดังนี้


  • การเซ็นสำเนาถูกต้อง ควรเซ็นทุกใบที่เป็นสำเนาโดยจะต้องเขียนรายละเอียดให้ครบ เช่น ลายเซ็น และหมายเลขทะเบียนรถยนต์คันที่ดำเนินการ
  • เอกสารสัญญาซื้อขายต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งวันที่ ลายเซ็นพยาน และต้องระบุให้ชัดเจนว่ายังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง

การโอนลอยต้องเสี่ยงกับอะไรบ้าง

แม้ว่าการโอนลอยรถยนต์จะมีความสะดวก แต่ในอีกแง่มุมถือว่ามีความเสี่ยงอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย

เช่น ใบสั่งจราจรที่เจ้าของคนเก่าค้างไว้ มีประวัตินำไปใช้ก่ออาชญากรรม เคยขับชนแล้วหนี รวมไปถึงการนำไปขายต่อแบบผิดกฎหมาย

หากเกิดปัญหาเหล่านี้ตามมาเจ้าของรถคนใหม่จะต้องรับเคราะห์แทนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าให้ชัวร์ควรทำเอกสารซื้อขายให้ผู้ซื้อ

และผู้ขายเก็บไว้คนละชุด และควรแลกสำเนาบัตรประชาชนของกันและกันเอาไว้ เพื่อยืนยันว่าตัวผู้ซื้อไม่มีความเกี่ยวข้องกับคดีความใด ๆ

ก่อนหน้า และในมุมของผู้ขายจะได้ป้องกันตัวเองในกรณีที่ผู้ซื้อเอารถไปใช้แต่ไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้เรียบร้อย




สรุปเกี่ยวกับการโอนลอยรถยนต์

การโอนลอยรถยนต์เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ให้ความสะดวกแก่ทั้ง 2 ฝ่าย ในแง่ของผู้ขายแค่เดินทำใบโอนลอยหรือเอกสารสัญญาซื้อขายพร้อมสำเนา

ต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ส่วนผู้ซื้อก็มีหน้าที่ไปเดินการเปลี่ยนชื่อเจ้าของด้วยตัวเอง แต่การโอนลอยก็นับว่ามีความเสี่ยงอยู่มากมายผู้ซื้อควรมีความรอบคอบ

เรื่องเอกสารให้มาก ๆ เพื่อป้องกันกันตัวเอง 



อ้างอิง https://www.toyotasure.com/contentdetail/contentdetailsui/487